วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

แหล่งท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอแม่สรวย

ถ้ำแม่สรวย เชียงราย

       "ถ้ำแม่สรวย" หรือเรียกอีกชื่อว่า "ถ้ำพระวิหารไตรลักษณาคุณพุทธสถาน" ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นภูเวียง หมู่ 14 ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อเดินเข้าไปด้านในของถ้ำจะพบกับห้องโถงที่กว้างใหญ่ และเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปหลายองค์ให้สักการะกราบไหว้ ภายในถ้ำอากาศด้านในจะเย็นมาก และจะมีหลายทางเดินให้เราได้ชมความสวยงามของถ้ำทั้งหินงอก หินย้อย เสาถ้ำ บางจุดจะมีบ่อน้ำตามซอกหิน เมื่อเดินขึ้นไปอีกจะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกต ซึ่งทางเดินขึ้นไปที่องค์พระแก้วมรกตจะเป็นทางเดินที่แคบและต่ำมากต้องคลานขึ้นไปจุดนี้จะปิดล็อคด้วยประตูใส่กุญแจและจะเปิดให้สักการะกราบไหว้พระแก้วมรกตเมื่อถึงประเพณีขึ้นถ้ำแม่สรวยซึ่งเป็นประเพณีที่จะจัดขึ้นทุกปีเมื่อถึงประเพณีสงกรานต์

       สำหรับเส้นทางไปเที่ยวถ้ำแม่สรวย จะใช้เส้นทางไปเขื่อนแม่สรวย หรือใช้เส้นทางไปวัดแม่สรวยหลวงก็ได้ ถนนไปถ้ำแม่สรวยเป็นเส้นทางที่ขับเลียบไปกับเขื่อนแม่สรวย ทำให้เห็นวิวของเขื่อนแม่สรวยไปพร้อมๆ กัน สวย ถนนเป็นดินลูกรังที่เทศบาลเวียงสรวยปรับเรียบร้อย รถเก๋งไปได้ ขึ้นเขาบ้าง ลงเขาบ้างแต่ไม่อันตราย ระยะทางไม่ไกล และเมื่อไปถึงถ้ำแม่สรวยต้องออกกำลังขาเดินขึ้นไปเพราะถ้ำอยู่สูง เมื่อมองลงมาจากถ้ำจะเห็นเขื่อนแม่สรวยอยู่ตรงด้านหน้าของถ้ำแม่สรวย และที่นี่ยังทิ้งร่องรอยของการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวสิ่งก่อสร้างที่หักพัง

       ไปเที่ยวถ้ำแม่สรวยสิ่งที่ขาดไม่ได้คือไฟปัจจุบันถ้ำแม่สรวยไม่มีไฟฟ้าด้านในถ้ำจะมืดมากควรพกไฟฉายที่ให้แสงสว่างมากกว่าปกติ เพื่อจะได้ชมความงามของถ้ำแม่สรวยได้ทุกซอกทุกมุมของถ้ำ แนะนำอีกนิดไม่ควรไปเที่ยวถ้ำแม่สรวยคนเดียวอาจหลงถ้ำได้ถ้าไม่เคยไป เที่ยวเขื่อนแม่สรวยถ้ามีเวลาเหลืออย่าลืมไปชมความงาม ความยิ่งใหญ่ของถ้ำแม่สรวยและพระมหาเจดีย์พระบรมธาตุ "คุ้มเวียงสรวย" ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันปัจจุบันพระมหาเจดีย์พระบรมธาตุคุ้มเวียงสรวยเกิดการเอียงจากแผ่นดินไหวเชียงรายที่ผ่านมา


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjrFKpQ2KyhyphenhyphenpvulVGlcCQQQtLVMHZl182vSP-uNg8nfQOP62jC5VUXWpHAZSimx02NcDjMaFV5LJ4nuzlOF8kdZN7CV5YoQ2YjuN3U4yIgY6c7sxQJtGILo49g38vfxOpkm9EQwPm5yKu1/s1600/DSC04709.JPG




http://banjong4000.blogspot.com/2015/05/blog-post.html








ที่มา   http://banjong4000.blogspot.com/2015/05/blog-post.html









ศาลพระนเรศวรมหาราช

       ณ บริเวณอุทยานอันเป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งนี้ นังเป็นที่ตั้ง ศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉลิมพระเกียรติ แห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย เรียนเชิญทุกท่านเยี่ยมชม และเสริมความรู้อันเกี่ยวกับพระองค์ท่าน ด้วยระบบที่ทันสมัย 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ ได้จากห้องแสดงภาพอดีตและปัจจุบัน (Then & Now) และจากคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส (Touch Screen Computer)
       สำหรับศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์ มีประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ เข้ามาพักผ่อน โดยเป็นทุ่งขนาดใหญ่มีศาลสมเด็จพระนเรศวรตั้งอยู่ด้านบน โดยมีช้างศึก 2 เชือก คือ ช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ และช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่ทรงออกศึก และมีชัยในสงครามยุทธหัตถีต่ออริราชศัตรูในอดีต ตั้งตระหง่านริมถนนทางเข้าศาลดังกล่าว
       อำเภอแม่สรวย เชียงราย จึงกำหนดประกอบพิธีบวงสรวง และถวายเครื่องสักการะ น้อมรำลึกถึงสมเด็จพระนเรศวรวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี ณ ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงกอบกู้เอกราช ทั้งนี้ตามประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย เคยเป็นพื้นที่ตั้งทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันที่ 25 มกราคม 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณที่ตั้งศาล และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอนุญาตให้ก่อตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณที่ตั้งศาลฯ ในปัจจุบัน













































ที่มา  http://www.chiangraifocus.com/2010/travelView.php?id=192&aid=12








อ่างเก็บน้ำแม่ก๊อหลวง

   องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อและสภาวัฒนธรรมตำบลท่าก๊อได้จัดงานเปิดอ่างเก็บน้ำแม่ก๊อหลวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเล่นน้ำคลายร้อนและจัดการประกวดเต้นรำวงย้อนยุค การประกวดธิดาช้าง ประจำปี 2556 ณ อ่างเก็บน้ำแม่ก๊อหลวง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556  

     สำหรับเส้นทางไปอ่างเก็บน้ำแม่ก๊อหลวง ใช้ถนนที่ไปวัดท่าก๊อ บ้านโฮ้ง ขับตรงไปตามเส้นทาง ระยะทาง 3 กม. สภาพถนนดี และในวันที่ 20 เมษายน 2556 ก็จะใช้สถานที่อ่างเก็บน้ำแม่ก๊อหลวงจัดงานบุญบั้งไฟ ในเทศกาลวันสงกรานต์ปี๋ใหม่เมืองอีกด้วย..






































ที่มา  http://banjong4000.blogspot.com/2013/04/blog-post.html





วัดแสงแก้วโพธิญาณ

       วัดแสงแก้วโพธิญาณ ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย สถานที่ตั้ง วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ ตั้งอยู่บนดอย “ม่อนแสงแก้ว” ตั้งอยู่ที่เลขที่ 191 ม.11 บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขนาดพื้นที่ประมาณ 29 ไร่เศษตั้งอยู่บนเนินดอยห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทัศนียภาพที่สวยงามมองลงมาเห็นทั้งตัวอำเภอแม่สรวย และหลายตำบลของอำเภอแม่สรวย มีถนนลาดยางถึง
       เริ่มก่อสร้าง วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับเดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก สร้างโดยท่านพระครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต คณะศรัทธาบ้านป่าตึง และศิษยานุศิษย์เมื่อครั้งที่ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ย้ายจากวัดพระธาตุดงสีมา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย มาจำพรรษา ณ ศาลามหาป่า ในใจกลางของหมู่บ้านป่าตึง โดยการรับนิมนต์ของ พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาชาวบ้านป่าตึง หมู่ที่ 11 ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง อยากจะมีวัดใหม่ที่สะดวกต่อการทำบุญของญาติโยมจึงได้นำเรื่องมาปรึกษากับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ผู้ซึ่งเป็นพระนักคิดนักสร้าง เป็นผุ้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนาเจริญรอยตามครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอยู่แล้ว จึงได้คิดสร้างวัดใหม่ขึ้นมาเพื่อเป็นพุทธสถาน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน
        หลังจากนั้นท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ทำการสำรวจพื้นที่ ที่จะก่อสร้างวัด กับพ่อหลวงยา ศรีทาและคณะศรัทธาบ้านป่าตึง โดยใช้เวลานานหลายวันก็ยังไม่พบสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่ในการก่อสร้างวัด แต่แล้วด้วยบุญญาบารมี ของท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตและความศรัทธาอย่างแรงกล้าของชาวบ้านที่จะสร้างวัด คืนหนึ่งขณะที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต จำวัดอยู่ได้นิมิตรว่ามีที่ดินเป็นเนินไม่สูงมากนักมีต้นไม้ร่มรื่นล้อมรอบไปด้วยไม้ไผ่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตพึงพอใจในสถานที่แห่ง นี้เป็นยิ่งนัก จึงได้เล่านิมิตที่ท่านพบมาให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านฟัง คณะพ่อหลวงยา ศรีทาและชาวบ้านได้พาท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน จนมาถึงท้ายของหมู่บ้าน พบสวนของชาวบ้าน ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้สำรวจพื้นที่ โดยรอบสวน พบว่ามีลักษณะเป็นสวนและมีต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับสถานที่ที่ท่านได้นิมิตรพบในคืนที่ผ่านมา ท่านครูบาเดินออกสำรวจพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว แล้วบอกกับคณะที่ติดตามท่านไป ในการสำรวจครั้งนั้นว่า ท่านพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นยิ่งนัก เหมาะสำหรับการก่อสร้างวัดเพื่อเป็นศาสนสถานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน และสถานที่แห่งนี้เป็นของใคร พ่อหลวงยา ศรีทาจึงได้บอกว่าเป็นสวนของผู้ที่มีฐานะดี คงจะไม่ยอมขายให้และถ้าหากขายก็คงจะต้องราคาแพง ความเป็นไปได้ที่จะได้ที่ดินเพื่อมาสร้างวัดคงจะไม่มีท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้เดินไปจนถึงยอดเนินของสถานที่แห่งนั้น และได้จุดธูปเทียน พร้อมทั้งกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล และตั้งจิตอธิษฐานว่า “หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมังคละคู่ยารมีท่านในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปแล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา” เมื่อท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตตั้งจิตอธิษฐานเสร็จแล้ว พ่อหลวงยา ศรีทาได้เชิญเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีฐานะดีมาพบกับท่านครูบาเพื่อพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการสร้างวัดบนของที่ดินผืนนี้ เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินประมาณ 19 ไร่เศษให้กับท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตเพื่อสร้างวัดอย่างง่ายดาย สร้างความประหลาดใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับคณะผู้ติดตามท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นอย่างมาก
        หลังจากที่เจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตได้ร่วมกับคณะศรัทธาปรับปรุงพื้นที่ พร้อมระบบสาธารณูปโภค เมื่อศิษยานุศิษย์ คณะศรัทธาและผู้ที่นับถือ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตทราบข่าวการสร้างวัด ได้แสดงความจำนงค์ในการร่วมสมทบทุน สร้างวัดเป็นจำนวนมาก
       ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ แสงแก้วโพธิญาณ แปลว่า ดอกบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วมีแสงสว่างเรืองรองเหมือนแสงแก้ว โดยก่อนที่จะได้ชื่อ แสงแก้วโพธิญาณ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้ร่วมกับคณะศรัทธาที่ร่วมกันสร้างวัดในการตั้งชื่อเพื่อขออนุญาติสร้างวัด แต่เนื่องด้วยเหตุใดก็หามีผู้ใดรู้ไม่ ท่านครูบาและคณะศรัทธา ไม่สามารถสรุปชื่อของวัดได้ สร้างความหนักใจให้กับท่านครูบาและคณะศรัทธาเป็นยิ่งนักยิ่งใกล้วันวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างพระวิหารเข้ามาทุกที จนกระทั่งก่อนวันวางศิลาฤกษ์ 2 วัน ด้วยความทุ่มเทในการจัดเตรียมงานวางศิลาฤกษ์ และมีคณะญาติโยมที่พากันมากราบนมัสการ ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต อย่างไม่ขาดสายทำให้ท่านครูบา รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและเพลียท่านจึงได้จำวัด พอตกยามเช้าใกล้รุ่งท่านได้นิมิตฝันไปว่า คืนนี้ฝนตกหนักท่านได้เดินจากยอดดอยแห่งหนึ่งลงไปยังหมู่บ้านด้านล่างได้ได้พบกับลูกศิษย์เดินสวนมา และเอ่ยถามท่านว่า “ท่านจะไปไหน” ท่านก็ได้ตอบศิษย์ของท่านไปว่า “จะลงไปหมู่บ้านข้างล่าง” ลูกศิษย์ท่านก็บอกว่า “ไม่ต้องลงไปหรอกครับท่านมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมหมดแล้ว” ท่านก็บอกต่อไปว่า ไม่เป็นไรหรอก เราจะลงไป แล้วท่านก็บอกให้ลูกศิษย์ของท่าน เดินขึ้นไปก่อน
       จากนั้นท่านก็เดินลงจากดอยลูกนั้นมาเรื่อย ๆ จนพบกับแสงสว่างคล้าย ๆ กับแสงแก้ว ลอยไปลอยมาหลายดวง ท่านจึงมุ่งตรงไปยังกลุ่มของแสงเหล่านั้น พบว่าเป็นดวงไฟที่ชาวบ้านถือส่องทางเพื่อหนีน้ำท่วมขึ้นมาบนดอย ชาวบ้านเหล่านั้นได้ชวนท่านกลับขึ้นไปมู่บ้านด้านล่างโดนน้ำท่วมแล้ว ท่านก็บอกให้ชาวบ้านเดินขึ้นไปก่อนเดี๋ยวท่านจะตามขึ้นไป จากนั้นสักพักท่านก็เดินกลับขึ้นดอยดินกลับขึ้นดอยท่านได้เดินเอาเท้าข้างหนึ่งเหยียบลงไปในหลุมโคลนบกับน้ำที่ไหลลงมาจากยอดดอยขังอยู่บริเวณนั้นพอดีทำให้พื้นดินอ่อนจนเท้าของท่านเหยียบลงไปจนหมด และท่านก็ได้มองลงไปในหลุมนั้นพบสิ่งประหลาดสิ่งหนึ่ง ยุบแลพองตัวอยู่ในหลุมนั้น ท่านจึงใช้ไม้เท้าของท่านเขี่ยดู แล้วหยิบสิ่งนั้นขึ้นมามีลักษณะคล้ายลูกแก้ว แล้วลูกแก้วลูกนั้นก็มีแสงสว่างเรืองรอง และนวลตายิ่งนัก ท่านก็มิได้สนใจมากนั้นจึงโยนสิ่งนั้นไปทางด้านหลังแล้วเดินขึ้นดอยต่อไป พอท่านหันหลังกลับมาพบว่าสิ่งที่ท่านโยนทิ้งไปเมื่อสักครู่กลับกลายเป็นดอกบัว ที่ผุดขึ้นมามากมายแล้วเรืองแสงไปทั่วบริเวณนั้น สร้างความประหลาดใจให้ท่านยิ่งนัก
       รุ่งเช้าท่านได้นำนิมิตที่ท่านพบในคืนที่ผ่านมาเล่าให้กับพ่อหลวงยา ศรีทาและกลุ่มคณะศรัทธาฟังชาวบ้านบอกว่าคงเป็นนิมิตที่เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบอกเป็นเหตุให้ ท่านจึงได้คิดชื่อได้จากเหตุที่เป็นแสงเรืองรองเหมือนแสงแก้วแล้วกลายเป็นดอกบัว อีกนัยหนึ่งคือ โพธิญาณ คือ หยั่งรู้ เหมือนบัวที่ผุดโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำแล้วเปล่งแสงคล้ายแสงแก้ว จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” หลังจากนั้นก็ได้ทำการดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา เมื่อเสนอเรื่องขึ้นไป สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกได้ทรงพระราชทานนามใหม่เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ”
การออกแบบก่อสร้างและการวางแผนในการก่อสร้างวัด จากการที่ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตและเป็นผู้ที่ศึกษามามากทั้งในทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ที่ช่างสังเกตและจดจำ รวมถึงประสบการณ์ในการไปธุดงค์พบเห็นวัดต่าง ๆ ที่มีศิลปะในการสร้างที่แตกต่างกันไป
       ท่านครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโตจึงได้วางแผนผังบริเวณวัดซึ่งเป็นไปตามหลักของทางธรรมและศาสน์ของ สถาปัตยกรรมล้านนา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนลักษณะเป็นขั้นบันได 3 ขั้น โดยแต่ละขั้นมีความหมายดังนี้
       ชั้นที่ 1 “ชั้นโลกธรรม หรือ เขตอภัยทาน” ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน ที่จอดรถและสถานที่สาธารณะสำหรับพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทำบุญที่วัด
       ชั้นที่ 2 “ชั้นพุทธาวาส” ใช้เป็นสถานที่สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ศาสนพิธีต่าง ๆ เป็นชั้นสำหรับการใช้ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์และฆราวาส
       ชั้นที่ 3 “ชั้นปรินิพพาน” เป็นชั้นสูงสุดของวัดแห่งนี้โดย เป็นชั้นสังฆกรรม ชั้นพระสงฆ์ทำพิธีกรรม เป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุแห่งวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ
การปรับปรุงพื้นที่ได้มีผู้มีจิตศรัทธา และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมทุนกันทั้งทุนทรัพย์ กำลัง เครื่องมือ เครื่องจักรเป็นจำนวนมาก และได้เร่งปรับพื้นที่ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนจนแล้วเสร็จภายคืนเดียว สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับชาวบ้านและคณะผู้ทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นอย่างมากที่สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่วัน หลังจากการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับการก่อสร้างวัด เสร็จเรียบร้อยแล้วทางวัดได้ทำการสร้างอาคาร พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่น ระบบไฟฟ้าแรงสูง ระบบน้ำบาดาล ถังพักน้ำ โดยผู้มีจิตศรัทธาที่หลั่งไหลมาแสดงความจำนงค์ในการเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นจำนวนมาก




http://www.touronthai.com/gallery/photo/2000044/watsaengkaewphotiyan24.jpg





http://upic.me/i/e0/dsc_3157.jpg





https://www.ilovetogo.com/FileUpload/Webboard/150922025322191.jpg





http://f.ptcdn.info/451/019/000/1401199256-Panorama7-o.jpg
  






ที่มา   https://sites.google.com/site/land4salesinmaesuay/khruba-xriy-chati-xri-cit-to-wad-saeng-kaew-phothiyan


   




อ่างเก็บน้ำแม่สรวย


        อ่างเก็บน้ำแม่สรวย หรือเขื่อนแม่สรวย ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่สรวย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย     สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2541 โดยทางสำนักงานชลประทานแม่สรวย
        ภายในอ่างเก็บน้ำแม่สรวยจะมีร้านอาหารให้บริการแก่นักท่องเที่ยว หรือจะเช่าแพเพื่อชมวิวของอ่างเก็บน้ำ
        ภายในบริเวณเขื่อนแม่สรวยจะเป็นที่ตั้งของพระมหาเจดีย์พระบรมธาตุคุ้มเวียงสวยอีกด้วย 
 ซึ่งตั้งอยู่บนเขาสูงทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุด้วย 
       การมาเที่ยวที่นี่นอกจากจะได้เห็นทัศนียภาพป่าเขา วิวตลอด 2 ข้างทางที่งดงาม ยังสามารถเดินทางต่อไปยังดอยช้าง ดอยวาวี ได้ในอีก ซึ่งปัจจุบันทางอ่างเก็บน้ำแม่สรวยมีการพัฒนาไปอย่างมาก มีร้านอาหาร แพ คาโอเกะ ให้บริการ นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งพักผ่อน หรือรับประทานอาหารพร้อมกับชมวิวสวยๆของอำเภอแม่สรวยได้อีกแห่งหนึ่ง




http://www.ori2.go.th/machine/_data/images/managpeple/01220_5.jpg




http://www.panyaconsult.co.th/images/news/2014/maesruai.jpg





ที่มา http://www.chiangraifocus.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/220/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2








ดอยช้าง

      ดอยช้าง ตั้งอยู่บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3  ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นยอดดอยสูงในเทือก ดอยวาวี เป็นแหล่งต้นน้ำแม่กรณ์ มีชาวเขาเผ่าต่างๆ มาอาศัยอยู่ จัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูง เพื่อส่งเสริม การปลูกพันธุ์ไม้เมืองหนาว ลดการทำไร่เลื่อนลอย ต่อมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นศูนย์บริการวิชาการด้าน พืชและปัจจัยการผลิต


       ชื่อ "บ้านดอยช้าง" ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทาง ทิศเหนือ (ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ดอยช้างมีชื่อเสียงในเรื่องของเป็นแหล่งปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มาเที่ยวที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้ชมสวนกาแฟที่สุกอร่ามเต็มดอย พร้อมๆกับชมดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งที่กำลังบาน สีสันสดใส ชมพู อีกทั้งเพลินตา กับศิลปะวิถีชาวบ้าน 


http://www.2chiangrai.com/gallerys/thumbnail/900-2xd9e1857ewk3p.jpg






http://www.misterlees.com/wp-content/uploads/2015/01/20141226_121259.jpg







http://travel.mthai.com/wp-content/uploads/2014/07/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%871-1024x682.jpg





http://www.chiangraifocus.com/travel/imageFiles/97/gallery_large/20140315163257_4.jpg











ที่มา  http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doiwavee.html







ดอยวาวี

       ดอยวาวี ตั้งอยู่ หมู่ 1 ต.วาวี อ.แม่สรวย เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ของชาวจีนฮ่อ บนดอยวาวี ยังมีความเป็น เอกลักษณ์ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชวนให้หลงใหล หลงรส นั่นก็คือ เสน่ห์แห่ง "ชา" ที่ชาวบ้านบนดอยวาวี ปลูกกันเป็น อาชีพหลัก อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะที่นี่มีชาวจีนฮ่อ หรือจีนยูนนานมาอาศัยอยู่ ยุคเดียวกับกองพล 93 ที่ ดอยแม่สลอง (ที่ขึ้นชื่อเรื่องชาเช่นกัน) ส่งผลให้บนดอยวาวีนิยมปลูกชากันมาก ชาบนดอยวาวี มีทั้งชาพันธุ์พื้น เมืองสายพันธุ์ "อัสสัม" ชาสายพันธุ์ไต้หวันอย่างชิงชิง เบอร์ 12, 13 และชา "อู่หลง" ที่มีความโดดเด่น เป็นอย่าง ยิ่ง เพราะดอยวาวี ถือเป็นแหล่งปลูกชาอู่หลงแห่งแรกของเมืองไทย ลุงพังโก : พินิจ พิทักษ์วารี ชายอายุ 60 กว่าๆ ผู้ที่ติดใจในรสชาติชาอู่หลง จนถึงขนาดแอบลักลอบนำต้นชาอู่หลงพันธุ์ดี เข้ามาปลูกในเมืองไทย เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และลองผิดลองถูกอยู่ 8 ปี จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็นชาอู่หลงแบบไทยๆ ที่รสชาติยอดเยี่ยม ไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่าอู่หลงของไต้หวัน แถมยังส่งไปตีตลาดที่ไต้หวันอีกด้วย


http://www.gonorththailand.com/farm/userfiles/e/e3/000000034/77b15e956c0b626682edc9ca2ef0bbf3.jpg






http://image.zizzee.com/tour/startDay/8714.jpg






http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/pic/chinggrai_pic/doiwavee1.jpg


http://www.tourismchiangrai.com/images/travelnew_b/OA0Ah3XmHs.jpg






http://s451.photobucket.com/user/gongan/media/TK%20Trip6568/TK4_zps12228686.jpg.html




ที่มา  http://www.paiduaykan.com/76_province/north/chiangrai/doiwavee.html





ดอยกาดผี

         วนอุทยานดอยกาดผี ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยชมภู ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและแม่กกฝั่งขวา ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 6,250 ไร่ เป็นแหล่งที่มีทิวทัศน์สวยงามที่สำคัญของราษฎรในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนเทศกาลและประเพณีต่างๆ
   
       กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะโดดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เพื่อเป็นการสงวนคุ้มครองพื้นที่ให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อประโยชน์เป็นแหล่งศึกษาวิจัยค้นคว้า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน รวมทั้งเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมตลอดจนความหลากลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและอยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการ และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน จึงได้นำเรื่องเรียนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 และได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานดอยกาดผี เนื้อที่ 6,250 ไร่ ตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1509/2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
ลักษณะภูมิประเทศ       ลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันตก โดยมีความลาดชันประมาณ 30-45 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800-1113 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ       สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.7 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,805 มิลลิเมตร โดยจะมีช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
พรรณไม้และสัตว์ป่า       พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ โดยมีไม้ยืนต้น กระจายเต็มพื้นที่ และมีไม้สักปะปนคละกับไม้อื่น เช่น เสี้ยว ก่อ ทะโล้ นอกจากนั้นยังมีพืชพวกกลุ่มเฟิน และกล้วยไม้หลากพันธุ์ขึ้นอยู่ตามบริเวณยอดดอยกาดผี
สัตว์ป่าประกอบด้วย นกกระปูด นกกางเขนดง นกปรอดหัวโขน นกกะราง นกแอ่นบ้าน ไก่ป่า กระต่ายป่า อ้นเล็ก กระจ้อน กระแตธรรมดา กระรอก งูชนิดต่าง ๆ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน คางคกบ้าน และกบห้วย จิงโจ้น้ำ เป็นต้น






http://www.paiduaykan.com/travel/wp-content/uploads/2015/01/38-DEW_0243.jpg






http://f.ptcdn.info/105/011/000/1382147838-IMG0509-o.jpg




http://www.hotelsthailand.com/gallerys/attractions/58/1477.jpg





 http://f.ptcdn.info/105/011/000/1382146633-IMG0404-o.jpg





http://www.chiangraifocus.com/travel/imageFiles/29/gallery_large/20141103172833_7.jpg









ที่มา  http://www.chiangraifocus.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/29/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7-360-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น